วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

3. ภาษาพูดภาษาเขียน

話し言葉と書き言葉

     สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกคน ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกนะครับ วันนี้ผมจะมานำเสนอเรื่องภาษาพูดและภาษาเขียนครับ วันนี้จะเป็นบทความสั้นๆ นะครับ ไปอ่านกันเถอะ

      ภาษาพูดกับภาษาเขียนต่างกันยังไง ก็ตามชื่อเลย ภาษาพูดใช้ตอนพูด ภาษาเขียนใช้ตอนเขียนไงล่าาา

     แต่คำอธิบายแบบนั้นยังไม่ดีพอ สิ่งที่ผมได้รู้เพิ่มตอนเรียนในคาบก็คือ ความเป็นลำดับขั้น (段階性)ของภาษาพูดแล้วภาษาเขียนนั่นเอง

     กล่าวคือ จะตัดสินคำคำหนึ่งเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียนไม่ได้ แต่บอกได้ว่ามีความเป็นภาษาพูดมากหรือน้อยกว่าอีกคำ หรือบอกว่ามีความเป็นภาษาเขียนมากหรือน้อยกว่าอีกคำก็ได้

     ตัวอย่างเช่นคำว่ามากในภาษาญี่ปุ่น เรียงจากคำที่มีความเป็นภาษาพูดมากสุดไปสู่คำที่มีความเป็นภาษาเขียนมากสุดได้ว่า
いろいろな(いろんな)→様々な→多様な→多岐にわたる
คำที่มีความเป็นภาษาพูดมากที่สุดคือ いろいろな ส่วนคำที่มีความเป็นภาษาเขียนมากที่สุดคือ 多岐にわたる ครับ 

     ส่วนคำว่ามากในภาษาไทย เราก็จะรู้กันดีว่า คำว่า เยอะแยะ มีความเป็นภาษาพูดมากกว่าคำว่า มากมาย ใช่มั้ยครับ วันนี้ผมก็เลยค้นหาคำที่มีความหมายว่า มาก จากหนังสือ คลังคำ มาให้ดูกัน


     มีเยอะขนาดนี้คงจะแยกไม่ออกสิว่า อันไหนเขียนหรือพูด ผมคิดว่าคำที่มีความเป็นภาษาพูดมาก ก็น่าจะเป็นคำที่ดูยาวๆ เยิ่นเย้อ เช่น มากมายก่ายกอง เยอะเแยะตาแป๊ะไก่ เพราะผมคิดว่าภาษาเขียนจะต้องกระชับ คำที่มีความเป็นภาษาพูดมากที่สุดคือคำว่า อื้อซ่า เพราะพจนานุกรมระบุไว้ว่าเป็นภาษาปากอย่างชัดเจน กล่าวคือใช้แค่ตอนพูดเท่านั้น ส่วนคำที่มีควาามเป็นภาษาเขียนมากที่สุดคือคำว่า มูนมอง เพราะพจนานุกรมระบุไว้ว่าเป็นภาษาเขียนอย่างชัดเจนครับ แต่คำนี้ผมไม่เคยได้เห็นได้ยินมาก่อนเลย และอีกหลายๆ คำก็เพิ่งเคยเจอครับ 55555

     แต่ผมคิดว่าภาษาพูดภาษาเขียนไม่ได้ดูกันแค่เรื่องศัพท์ครับ อาจจะดูเรื่องการออกเสียงด้วย ในภาษาญี่ปุ่นก็มีการกร่อนเสียงหรือรวบเสียงอยู่ใช่มั้ยครับ อย่างเช่นคำว่า わからない อาจจะพูดว่า わかんない หรือ わからん ได้ แต่คำที่ถูกกร่อนทั้งสองแบบนี้มักพบเห็นได้เยอะในภาษาพูดใช่มั้ยล่ะครับ ในภาษาเขียนไม่ใช้แบบนี้กันเลย
     ภาษาไทยก็มีเรื่องการกร่อนเสียงรวบเสียงเหมือนกันครับ เช่น อย่างไร กับ ยังไง สองคำนี้ต้องแยกใช้นะครับ ยกตัวอย่างเช่นตอนที่ผมแปลนิยาย ถ้าเป็นบทบรรยายของ Narrator จะใช้คำว่า อย่างไร ถ้าเป็นบทพูดที่กำกับด้วยเคื่องหมายอัญประกาศ จะไช้คำว่า ยังไง แหละครับ นอกจากนี้ ก็มีอีกคำำหนึ่งที่เราทักใช้บ่อย เช่น คำว่า เค้า ที่เป็นสรรพนามน่ะครับ คำนี้ก็เป็นคำที่ใช้แค่ตอนพูดไม่ใช้ตอนเขียนเช่นกัน

     ขอจบการนำเสนอแต่เพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ

2. SLA คืออะไร

     วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง SLA ซึ่งย่อมาจาก Second Language Acquisition ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 第二言語習得
     ในบทความที่ 1 เราอาจจะคุ้นเคยกับคำว่าภาษาศาสตร์เปรียบต่างแล้ว มันมีชื่อเรียกว่า Contrastive Analysis หรือ CA  ศาสตร์นี้ศึกษาเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในการเรียนภาษาที่สองใช่ไหมล่ะครับ ซึ่งข้อผิดพลาดอาจเกิดจากความเคยชินในการใช้ภาษาแม่ก็เป็นได้ ดังนั้นจึงต้องเปรียบเทียบภาษาแม่กับภาษาที่สองเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลากดังกล่าว
     ต่อมาจึงมีคนเสนอแนวคิดว่าแทนนที่จะป้องกันข้อผิดพลาด เรามาดูสิ่งที่ผู้เรียนใช้กันผิดๆ ดีกว่า จึงเกิดเป็นศาสตร์ Error Analysis แต่มีปัญหาคือผู้เรียนมักหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด และเลือกใช้สำนวนที่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้ไม่สามารถมองเห็นภาพรวมทั้งหมดได้ การศึกษาข้อถูกของผู้เรียนจึงสำคัญด้วย
     นอกจากการศึกษาข้อผิดข้อถูกแล้ว SLA ได้เกิดขึ้นโดยเน้นไปที่การศึกษาภาษาระหว่างกลาง (Interlanguage : 中間言語)
     ภาษาระหว่างกลางไม่ใช่ทั้งภาษาแม่ (L1) และภาษาที่สอง (L2) แต่เป็นภาษาของผู้เรียน L2 ในขั้นที่ยังไม่พัฒนาเป็น L2 กล่าวคือยังใช้ความคุ้นเคยจาก L1 มาใช้ในการเรียน L2 อยู่นั่นเอง

     แล้วก็มีบุคคลหนึ่งที่จะแนะนำให้รู้จักครับ ก็คือ Noam Chomsky นั่นเอง นี่คือภาพจาก Wikipedia
(ชื่อจำยากครับ อย่าเขียนเป็น Chom Noamsky นะ ผมเอาไปเสิร์ชในอากู๋มาแล้ว งงเลย55555)
     เดิมทีมีคนเชื่อว่ามนุษย์จะเรียนรู้ภาษาได้ด้วยการได้รับ input ก่อนครับ เหมือนกับเด็กที่เปรียบเป็นผ้าขาวแล้วโดนย้อมสีนั่นแหละ แต่ Noam Chomsky เขาได้เสนอทฤษฎี Universal Grammar เหมือนกับว่ามนุษย์มีสิ่งที่คล้ายๆ โปรแกรมเรียนรู้ภาษาอยู่ในสมองอยู่แล้วครับ เพราะว่าเราสามารถผลิตคำใหม่ขึ้นมาได้ ถึงแม้เราจะไม่เคยได้ยินคำนั้นเลยก็ตาม อย่างเช่นถึงแม้พ่อแม่ไม่เคยสอนคำหยาบให้เด็กเลย เด็กก็อาจจะพูดคำหยาบขึ้นมาเองก็เป็นได้ เพราะว่ามนุษย์มีความสามารถในการเรียนรู้ภาษา หรือ Competency ติดตัวมาแต่กำเนิดอยู่แล้วนั่นเอง
     อาจมองได้ว่า ทฤษฎีนี้มีส่วนสำคัญในการเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ได้ครับ ผมคิดว่าถ้าเราศึกษากลไกการทำงานของสมองในด้านการเรียนรู้ภาษาแล้วละก็ อาจจะทำให้เกิดวิธีการเรียนรู้ภาษาที่สองที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ผมก็ไม่รู้ว่ามีการศึกษาในด้านนี้หรือยัง หรือว่าศึกษากันไปถึงขั้นไหนแล้ว ใครรู้ก็คอมเม้นต์มาบอกได้นะครับ

     จะว่าไปเมื่อวานเป็นวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ผมไปสอบข้อเขียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่นครับ มีบทอ่านหนึ่งน่าสนใจมาก เป็นบทอ่านเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษานี่แหละครับ เขาบอกว่ามนุษย์จะเข้าใจความหมายของคำศัพท์คำหนึ่งได้ด้วยการลำดับเหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ในความทรงจำครับ มีตัวอย่างที่วา่คนญี่ปุ่นเมื่อเกิดมาได้ยินคำว่า やわらかい ตอนเป็นเด็กเล็กถึงแม้จะได้ยินมา แต่ก็ยังไม่เข้าใจความหมายหรอก พอได้ยินผู้ใหญ่พูดในหลายๆ สถานการณ์ เช่น คนนั้นให้ความรู้สึก やわらかい ขลุ่ยนี้มีเสียง やわらかい และแสงแดด やわらかい พอได้ยินแล้วสมองก็จะประมวลผลแต่ละเหตุการณ์ในความทรงจำครับ แล้วก็เข้าใจความหมายจนถึงขั้นแยกว่าแต่ละบริบท คำว่า やわらかい มีความหมายต่างกันอย่างไร ในทางกลับคนญี่ปุ่นที่เรียนภาษาอังกฤษ ถึงแม้จะอ่านจากหนังสือเรียน และเปิดพจนานุกรมมาด้วย ก็ยังเข้าใจความหมายของคำศัพท์คำหนึ่งได้ไม่ดีพอ นั่นเป็นเพราะยังมีความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์คำนั้นไม่มากพอครับ
     จากบทอ่านนี้ ผมได้เรียนรู้ว่าสอมงของคนเรามีความสามารถในการเรียนรู้ภาษาอยู่ บทอ่านนี้ได้ยกตัวอย่างที่สัมพันธ์กับทฤษฎีนั้นครับ แล้วผมก็ตระหนักได้ว่าในการเรียนภาษาที่สองนั้น สภาพแวดล้อมรอบตัวก็เป็นสิ่งจำเป็นครับ สภาพแวดล้อมที่มีการใช้ภาษาที่สองรอบตัวทำให้เราเกิดการสั่งสมความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับภาษานั้นๆ ทำให้สมองเกิดการประมวลผลให้เราเกิดความเข้าในคำศัพท์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
     สำหรับคนที่งงว่าบทอ่านนั้นเป็นยังไง ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะหาบทอ่านที่เหมือนกับกับที่อยู่ในข้อสอบเป๊ะๆ ได้จากไหน แต่ผมก็เจอลิงก์ที่มีการยกตัวอย่างเกี่ยวกับคำว่า やわらかい เหมือนในข้อสอบเลยครับ เชิญอ่านได้ตามลิงก์นี้ครับ
http://subaru-ss.jp/wp-content/uploads/2016/03/%E5%B8%8C%E6%9C%9B%E3%83%B6%E4%B8%98_%E5%95%8F%E9%A1%8C.pdf
https://cds190.exblog.jp/3408644/

     เอาละ ผมขอจบการเขียนบล็อกนี้ไว้แต่เพียงเท่านี้ครับ ขอบคุณสำหรับคนที่อ่านมาถึงตรงนี้นะครับ

10. บทสรุป

     สวัสดีครับ ตอนที่ผมกำลังเขียนบล็อกอยู่นี้ก็ตอนตีหนึ่งกว่าๆ แล้ว อยากจะบอกไว้ในที่นี้ว่า บล็อกนี้เป็นบล็อกสุดท้ายแล้วนะครับ ผมจะมาสรุปเก...