วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562

5. มารู้จักคำสุภาพ

     สวัสดีครับ ไม่ได้อัพบล็อกซะนานเลย ในคาบเรียนของสัปดาห์ก่อนมีวิทยาการมาให้ความรู้เกี่ยวกับคำสุภาพครับ ส่วนวันนี้เรามาดูกันว่าคำสุภาพในภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะยังไง

5.1 คำสุภาพใช้ยังไง

     ตอนแรกคิดว่าคำสุภาพเป็นยังไงกันเหรอ ตอนแรกผมก็นึกว่า คำยกย่องใช้พูดกับคนที่มีสถานภาพสูงกว่า คำถ่อนตนใช้แทนตัวเราเองในขณะที่พูดกับคนคนนั้น แต่ว่ามันไม่ใช่แค่นั้นน่ะสิ

     เพราะว่าคำยกย่องและคำถ่อมตนทั้งหลายนั้น แบ่งการใช้งานเป็น 2 แบบ คือ รูปพื้นฐานกับรูปสุภาพนั่นเอง

     เราจะใช้คำยกย่องก็ต่อเมื่อ เวลาเรากล่าวถึงบุคคลที่เราเคารพนับถือ อาจเป็นผู้ที่อาวุโสมากกว่า หรือผู้ที่มีสถานภาพสูงกว่า เช่น อาจารย์ ประธานบริษัท หัวหน้าแแผนก ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงการยกย่องบุคคลดังกล่าว ดังนั้นไม่ว่าจะเวลาไหนก็ตาม ตราบใดที่เนื้อหาของสารกล่าวถึงคนที่เราจะยกย่อง เราก็ต้องใช้คำยกย่องแทนบุคคลนั้น แล้วก็ใช้คำถ่อมตนแทนตัวเราด้วย

     เวลาเราพูดกับเพื่อนเราใช้กริยารูปพจนานุกรม ไม่ต้องผันรูปเป็นรูปสุภาพ กริยารูปนี้จึงแสดงความใกล้ชิดระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง แต่ว่าถ้าเนื้อหาของสารที่เราจะส่งไปหาเพื่อนนั้นกล่าวถึงอาจารย์ หรือบุคคลใดๆ ที่เราต้องการให้การยกย่องแล้วละก็ เราก็จะใช้คำยกย่องที่เป็นรูปพื้นฐาน หรือรูปที่ไม่ผัน เช่น 先生は教室にいらっしゃる。 ประโยคนี้ใช้พูดกับเพื่อนจึงไม่ได้ผันเป็นรูปสุภาพ แต่ที่ใช้กริยายกย่องก็เพราะว่ากริยา いらっしゃる ใช้แสดงความยกย่องต่ออาจารย์นั่นเอง

     ส่วนคำยกย่องรูปสุภาพใช้ในกรณีที่ผู้พูดเป็นอาจารย์แล้วเนื้อหาในสารเป็นอาจารย์ ผู้ฟังกับบุคคลในสารอาจเป็นคนเดียวกันก็ได้ เช่น 何を召し上がりましたか。ในที่นีคนที่รับประทานก็คืออาจารย์ แล้วเราก็ถามอาจารย์คนนั้นว่ารับประทานอะไร หรืออีกกรณีหนึ่งผู้ฟังเป็นอาจารย์ A แล้วบุคคลในสารเป็นอาจารย์ B เราจะถามอาจารย์ A ว่าอาจารย์ B อยู่ไหนได้ว่า B先生はどこにいらっしゃいますか。ในที่นี้ いらっしゃる แสดงความยกย่องต่อบุคคลในสาร คืออาจารย์ B และรูป ~ます แสดงความสุภาพต่ออาจารย์ A นั่นเอง แต่ถ้าถามอาจารย์ A ว่า C ที่เป็นเพื่อนอยู่ไหน ก็จะพูดว่า Cさんはどこにいますか。 ในที่นี้ใช้รูป いる ต่อ C เพราะเป็นเพื่อน แต่ก็ยังคงใช้รูป ~ます แสดงความสุภาพต่ออาจารย์ A เหมือนเดิม

     จากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าการใช้รูปสุภาพ (Vます) หรือรูปพื้นฐาน (Vる) นั้นขึ้นอยู่กับผู้ฟัง และการใช้คำยกย่อง รวมถึงคำถ่อมตน หรือใช้รูปพื้นฐานนั้นขึ้นอยู่กับบุคคลในเนื้อความนั่นเอง

5.2 ผันกริยายังไงดี

     การผันคำกริยาให้เป็นคำยกย่อง จะใช้รูป お~になる หรือ ~られる และการผันคำกริยาให้เป็นคำถ่อมตน จะใช้รูป お~する เช่นคำว่า 待つ ผันเป็นรูปยกย่องว่า お待ちになる หรือ 待たれる และรูปถ่อมตนว่า お待ちする
     แต่ก็มีคำที่มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง เพราะไม่ได้ผันแบบนี้ ต้องจำคำศัพท์เพิ่ม เช่น

          คำปกติ                              คำยกย่อง                         คำถ่อมตน
  言います       おっしゃいます    申します
  行きます/来ます   いらっしゃいます   参ります
  います        いらっしゃいます   おります
  知りまっす      ご存知です      存じています
  食べます/飲みます  召し上がります    いただきます
  見ます        ご覧になります    拝見します

5.3 ข้อควรระวัง

     การใช้คำสุภาพมีข้อควรระวังคือ ห้ามใช้คำสุภาพซ้อนกัน หรือที่เรียกกันว่า 二重敬語 เช่นคำยกย่องมีวิธีการผันคือ お~になる หรือ ~られる ควรเลือกผันรูปใดรูปหนึ่งเท่านั้น ถ้าผัน 待つ เป็นรูปยกย่องว่า お待ちになられる จะใช้ไม่ได้ หรือกริยารูป ~ている ถ้าผันคำกริยาข้างหน้า ~ている เป็นคำยกย่องหรือถ่อมตนแล้ว จะผัน いる เป็น いらっしゃる หรือ おる ไม่ได้ เช่น お待ちになっていらっしゃる ใช้ไม่ได้ ควรใช้เป็น  お待ちになっている หรือ 待っていらっしゃる 

     อีกข้อควรระวังหนึ่งก็คือ มีกริยาบางตัวที่ใช้ได้แค่รูป ~ます จะใช้รูปพจนานุกรมไม่ได้ เช่น ございます ไม่มี ござる เพราะถือว่าต้องแสดงความสุภาพต่อผู้ฟังอยู่ตลอด เช่น การให้ข้อมูลแก่ลูกค้า นอกจากนี้ยังมีคำว่า ~でございます(~に)おります 参ります ~と申します

     สำหรับบล็อกนี้ก็จบแล้วครับ มีเรื่องที่ผมยังไม่รู้หลายๆ อย่างเลย เช่น การใช้คำสุภาพกับผู้ฟัง และบุคคลในเนื้อหามีความแตกต่างกันครับ แต่ก่อนผมนึกถึงแต่ว่าผู้ฟังเป็นใครเพียงอย่างเดียว ไม่ได้นึกถึงบุคคลในเนื้อหาเลย จึงถือว่าได้เรียนรู้เป็นอย่างมาก แล้วก็ข้อควรระวัง ผมก็ได้เรียนรู้เพิ่มเติมว่า มีคำกริยาที่ต้องใช้รูปสุถาพเท่านั้น สำหรับความรู้ในวันนี้ก็ขอขอบคุณวิทยาการมากๆ ครับ










10. บทสรุป

     สวัสดีครับ ตอนที่ผมกำลังเขียนบล็อกอยู่นี้ก็ตอนตีหนึ่งกว่าๆ แล้ว อยากจะบอกไว้ในที่นี้ว่า บล็อกนี้เป็นบล็อกสุดท้ายแล้วนะครับ ผมจะมาสรุปเก...