สวัสดีครับ ตอนที่ผมกำลังเขียนบล็อกอยู่นี้ก็ตอนตีหนึ่งกว่าๆ แล้ว อยากจะบอกไว้ในที่นี้ว่า บล็อกนี้เป็นบล็อกสุดท้ายแล้วนะครับ ผมจะมาสรุปเกี่ยวกับการเรียนวิชา 2223332 Applied Japanese Linguistics ในระยะเวลา 1 เทอมที่ผ่านมาครับ
วิชานี้มีกิจกรรมที่หลากหลายตั้งแต่ต้นคาบยันท้ายคาบเลยครับ กิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 内容 タスク 言語現象
1. เนื้อหาของวิชานี้จะเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ประยุกต์ครับ ซึ่งต่างกับภาษาศาสตร์ทฤษฎี ภาษาศาสตร์ประยุกต์มีโจทย์ปัญหามนุษย์เป็นประเด็นหลักครับ เราศึกษาศาสตร์นี้เพื่อแก้ไขปัญหาของมนุษย์ โดยแบ่งย่อยออกเป็นหลายศาสตร์ เช่น ภาษาศาสตร์สังคม
เนื้อหาหลักๆ ที่ได้เรียนก็คือ SLA กับเทคนิคการสอนภาษาต่างประเทศครับ มีหลากหลายทฤษฎีให้ศึกษาครับ อันที่เด่นๆ ก็คือ Output Hypothesis ทำให้ผู้เรียนรับรู้ Gap ระหว่างตนเองกับเจ้าของภาษา แล้วก็ Noticing Hypothesis ก็สำคัญมาก การที่ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ด้วยตนเองจะช่วยให้เกิด Intake หรือก็คือการนำความรู้มาเป็นของตัวเองนั่นเอง
นอกจากนี้ สิ่งที่ผมคิดว่ามีประโยชน์มากที่สุดก็คือคำว่า i+1 นี่แหละครับ i+1 คือ Input ที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจและได้ความรู้ ผู้เรียนสามารถเข้าถึงความรู้ได้ได้ง่าย เพราะระดับของความรู้สูงกว่าระดับของผู้เรียนแค่ขั้นเดียวเอง ไม่เพียงแค่เรื่องการสอนเท่านั้น ผมคิดว่าเรื่องนี้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย เวลาพูดกับคนอื่น ถ้าเราคิดว่าหลายๆ ครั้งเราพูดกับคนอื่นไม่รู้เรื่องละก็ ลองคิดดูซิว่าคนฟังจะเข้าใจเรื่องที่เรื่องที่เราพูดหรือเปล่า อย่างเช่นถ้าไปพูดเรื่องภาพยนต์ Avengers กับคนที่ไม่เคยดูภาพยนตร์ของ Marvel เขาก็คงจะไม่เข้าใจ แต่ถ้าเขาเคยดู Infinity War กับ Endgame แล้ว เขาก็คงจะได้เห็นฮีโร่มากมาย และการกระทำของฮีโร่ในภาพยนต์ดังกล่าว ทีนี้ถ้าเราจะคุยเรื่องหนึ่งเดี่ยวของฮีโร่สักหนึ่งคน ถึงเขาจะไม่เคยดูมาก่อนก็ตาม แต่ก็น่าจะพอเข้าใจได้บ้าง จะว่าไปเรื่องนี้มันก็คล้ายๆ กับเรื่อง Empathy ใช่มั้ยนะ
2. Task ต่างๆ ของวิชานี้มีทั้งการเขียน การอ่าน การพูด การฟัง นับว่าได้ฝึกสกิลต่างๆ อย่างครบถ้วน สกิลที่ได้ฝึกแน่ๆ คือการเขียน เช่น 手際のよい説明 Task นี้ได้ฝึกเขียนหลายครั้งเลย สกิลที่ได้เรียนรู้คือ Empathy เราต้องคิดถึงใจของผู้อ่าน เพื่อที่จะทำให้ผู้อ่านมาถึงที่หมายได้อย่างถูกต้อง มันก็ดูท้าทายดีนะ เพราะก่อนที่เราจะลงมือเขียน เราต้องค้นหาข้อมูลทั้งหมดมาก่อน ทีนี้พอเรารู้หมดแล้ว ในระหว่างที่เราเขียนอยู่เราต้องนึกภาพตามว่าถ้ามีคนมาอ่านเขาจะเข้าใจเหมือนเรามั้ย มันก็เลยเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะเราหาข้อมูลทุกอย่างมาก่อนแล้วนั่นเอง อีกเรื่องหนึ่งคือ 空想作文 อันนี้นอกจากการเขียนแล้ว เราก็ได้ฝึกใช้จินตนาการด้วย กิจกรรมจะมีความท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มแรกจะเป็นกิจกรรมเขียนบรรยายภาพจากการ์ตูนสี่ช่อง อันนี้เราเห็นภาพชัดเจนแล้ว เราแค่เขียนบรรยายจากภาพเป็นตัวหนังสือเท่านั้น กิจกรรมต่อมามีพล็อตเรื่องให้ คราวนี้เราไม่เห็นภาพ เราต้องจินตนาการภาพต่างๆ ขึ้นมาเองแล้ว และสุดท้ายคือให้แต่งเรื่องอิสระ เราต้องคิดอะไรหลายๆ อย่างขึ้นมาทั้งหมด เริ่มตั้งแต่พล็อตเรื่องเป็นต้นมา จากกิจกรรมเหล่านี้จะเห็นได้ว่า i+1 ชัดๆ ถึงแม้ i+1 จะใช้กับ Input ก็เถอะ แต่การที่เราทำกิจกรรมนี้เรา Output แล้วก็ได้ฟีแบคกลับมาเป็น Input ทุกครั้ง นับว่าได้พัฒนาตนเองไปทีละขั้นๆ
ส่วนด้านการอ่านก็มีอะไรให้อ่านเยอะแยะ แต่เราไม่จำเป็นต้องจำทุกอย่างที่อ่านไปก็ได้ เพราะเราอ่านเพื่อที่จะรับรู้ Gap แล้วนำมาใช้ในการย้อนมองดูตัวเอง
ส่วนด้านการพูดก็มีสิ่งที่น่าสนใจคือ ฟิลเลอร์ เราได้รู้ว่าการใช้ฟิลเลอร์ของคนญี่ปุ่นมีหลากหลาย ส่วนด้านการฟังก็คือการเป็นผู้ฟังที่ดี ตรงนี้ก็ต้องใช้ Empathy เหมือนกัน อาจจะคิดได้ว่า Empathy เป็นตัวเอกของคลาสนี้เลยก็ว่าได้
3. 言語現象 ส่วนมากเราเรียนเกี่ยวกับไววยากรณ์พวกนี้ไปแล้ว แต่การที่วิชานี้ยกเรื่องพวกนี้มาให้เราเรียน เพราะเราจะได้ย้อนมองดูเพื่อ Notice มันนั่นเอง หลังจากเกิด Noticing แล้ว เราก็จะเข้าใจมันมากขึ้น เช่น คำช่วยง่ายๆ อย่าง の มันทำให้เกิดคำกำกวมได้นะ คำว่า 父の写真 อาจตีความได้ว่า รูปที่พ่อเป็นเจ้าของ รูปที่พ่อเป็นคนถ่าย รูปที่พ่อเป็นคนถูกถ่าย มันทำให้เราตระหนักว่า ถึงจะเป็นไวยากรณ์ง่ายๆ แต่ก็ต้องระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดความกำกวม นอกจากนี้ การใช้ ~のだ ก็เป็นเรื่องที่มีประโยชน์มากเลยทีเดียว เวลาที่ผมจะเขียน 作文 ต่างๆ ผมก็จะพยายามใช้ ~のだ เพราะหวังว่าจะสามารถใช้ไวยากรณ์นี้ได้อย่างแม่นยำในอนาคต
จากที่กล่าวไปข้างต้น หากจะมองวิชาภาษาศาสตร์ญี่ปุ่นประยุกต์ในมุมมองของภาษาศาสตร์ประยุกต์แล้วละก็ วิชานี้มีทั้ง Input Output แล้วก็ Noticing ด้วย สุดยอดจริงๆ ครับ
นอกจากสกิลทางด้านภาษาแล้ว สกิลอย่างหนึ่งที่ได้รับก็คือความขยันนะ เอ๊ะ หรือว่าสำหรับผมแล้วจะเป็นสกิลการปั่นงานกันนะ เพราะรู้สึกว่าอัพบล็อกไม่ต่อเนื่องเลย ชอบอัพรวดเดียวหลายๆ บล็อกมากกว่า55555
ท้ายที่สุดก็ขอขอบคุณอาจารย์ที่จัดการเรียนการสอนวิชานี้ครับ อย่างที่บอกไปว่าวิชานี้มีการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ นอกจากจะมีประโยชน์ในการพัฒนาทักษะของตัวเองแล้ว ยังนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย แถมยังได้รับฟีดแบคจากอาจารย์ ทำให้รู้แนวทางการพัฒนาตนเองในอนาคต
ตอนนี้ก็ใกล้จะตีสามแล้ว ขอตัวไปนอนก่อนนะครับ สำหรับเทอมนี้ก็จบเพียงเท่านี้แล้ว บ๊ายๆ ครับ
กู๊ดไนท์ สลีพไทต์ ฝันดีครับ
วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
9. แรงบันดาลใจที่ใช้เขียนเรื่องแต่ง
สวัสดีครับ กลับมาพบกับบล็อกของผมอีกครั้ง วันนี้ผมจะมาเล่าว่าเรื่องแต่งทั้ง 2 เรื่องที่เล่ามาได้รับแรงบันดาลใจมาจากอะไรบ้าง ส่วนมากก็ได้รับมาจาดอะนิเมะนะครับ ดังนั้น บล็อกนี้จะเป็นบล็อกที่เบาๆ อ่านชิวๆ รูปประกอบน่ารักๆ เยอะ แต่รูปส่วนมากก็ดูดมาจากเน็ตทั้งนั้นอะนะ ถ้างั้นผมก็จะใส่ซอสใต้รูปละกัน จะมีอะไรบ้างนั้น มาอ่านกันเลย
ต่อมาก็มีไลท์โนเวลในรั้วโรงเรียนที่ไม่แฟนตาซีอยู่ แต่จะโฟกัสเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครซะมากกว่า เช่นเรื่อง Boku wa Tomodachi ga Sukunai ตัวเอกไม่ค่อยมีใครคุยด้วย หาเพื่อนยาก จึงไปเข้าชมรมกับคนที่ไม่มีเพื่อนเหมือนกัน แล้วก็พัฒนาความสัมพันธ์กัน
ดังนั้น ในเรื่องแต่งเรื่องแรกผมตั้งใจที่จะให้เป็นแนวนี้ ก็เลยเขียนให้ตัวเอกเป็นนักเรียนย้ายเข้ามาใหม่ แล้วก็กำลังหาชมรมครับ
ดังนั้น ในเรื่องแต่งเรื่องแรกที่สมาชิกชมรมเป็นผู้มีพลังเหนือธรรมชาติ แต่ตัวเอกยังไม่มีพลังอะไร จึงต้องค้นหาต่อไปว่ตัวเองมีพลังอะไรซ่อนอยู่ เพื่อที่จะเอาไปปราบจอมมารนั่นเอง
สำหรับไอเดียที่แมวกลายร่างเป็นสาวหูแมว อันนี้ผมเอามาจากโดจินชิเรื่องหนึ่งที่นานมากแล้ว จำไม่ได้ว่าเรื่องไหน
ชุดนี้เป็นชุดของสาวใช้ ดังนั้น การที่สาวหูแมวในเรื่องแต่งใส่ชุดนี้แล้วทำอาหาร ก็น่าจะเหมาะสมดี
ถึงแม้บล็อกนี้จะไม่มีเนื้อหาอะไรที่เกี่ยวกับภาษาศาสตร์ก็ตาม แต่ผมก็คิดว่ามันเกี่ยวข้องกับเรื่องแต่งทั้งสองเรื่องที่แต่งไป ก็เลยนำมาเขียนในบล็อกนี้ครับ
・学園物
学園物 คือชื่อแนวการ์ตูนครับ เป็นแนวที่ตัวเอกเป็นนักเรียน เนื้อเรื่องจะบอกเล่าชีวิตของตัวเอกที่มีความสัมพันธ์กับตัวละครอื่นๆ ในรั้วโรงเรียน แล้วก็มีการทำกิจกรรมชมรมด้วย ในยุค 1990 เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่ไลท์โนเวลแนวนี้ฮิตที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยเรื่องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ Suzumiya Haruhi no Yuutsu เป็นเรื่องที่มีเด็กสาวคนหนึ่งตั้งชมรมที่มีสมาชิกเป็นผู้มีพลังเหนือธรรมชาติ จะมีความเป็นแฟนตาซีอยู่『涼宮ハルヒの憂鬱』 Source : https://www.animenewsnetwork.com/encyclopedia/anime.php?id=6430 |
『僕は友達が少ない』 Source : https://blogs.yahoo.co.jp/otaku4160/53496886.html |
・超能力
การได้ครอบครองพลังเหนือธรรมชาตินับว่าเป็นความฝันที่ยิ่งใหญ่มาก อย่างเช่นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่าง Avengers ก็มีตัวละครที่มีพลังเหนือธรรมชาติอยู่ด้วย ถ้าเป็นอะนิเมะละก็ ผมชอบเรื่อง Inou Battle wa Nichijou-kei no Naka de เป็นเรื่องราวของสมาชิกชมรม 5 คนที่ได้รับพลังมา แต่ไม่มีจอมมารหรืออะไรให้ปราบทั้งนั้น ก็เลยต้องค้นหาว่าพลังเหล่านั้นมีความสำคัญยังไง『異能バトルは日常系のなかで』 Source : https://animevod.net/2018/05/10/inoubatoru-01/ |
・ねこみみ
แมวเป็นสัตว์ที่ขี้อ้อนและชอบเอาใจเจ้านายครับ สาวที่ใส่หูแมว หางแมวเป็นการเพิ่มเสน่ห์เพื่อสนองความต้องการโอตะกุที่มีรสนิยมแบบนี้ แต่ว่าในอะนิเมะบางเรื่องก็ไม่ใช่แค่ใส่หูแมวหางแมวเล่นๆ อาจจะใส่สตอรี่ว่าเป็นชนเผ่าหนึ่งที่แตกต่างจากมนุษย์ อย่างเรื่อง No Game No Life ก็มีสาวหูแมวที่ผมชอบอยู่เหมือนกัน5555初瀬いづな『ノーゲーム・ノーライフ』 Source : http://i1.wp.com/anihonetwallpaper.com/image/2015/01/Anihonetwallpaper18651.jpg |
・メイド
นับว่าเป็นชุดที่สวยงามและมีเสน่ห์ ถ้าใส่คู่กับหูแมวและหางแมวก็น่าจะดีนะSource : http://images6.fanpop.com/image/photos/35100000/Azu-nyan-333-nakano-azusa-35193160-600-404.jpg |
ถึงแม้บล็อกนี้จะไม่มีเนื้อหาอะไรที่เกี่ยวกับภาษาศาสตร์ก็ตาม แต่ผมก็คิดว่ามันเกี่ยวข้องกับเรื่องแต่งทั้งสองเรื่องที่แต่งไป ก็เลยนำมาเขียนในบล็อกนี้ครับ
วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
8. 空想作文
สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้ง ครั้งนี้จะเป็นการบ้านชิ้นสุดท้าย 空想作文 นั่นเอง ซึ่งครั้งนี้จะไม่มีพล็อตเรื่องให้เหมือนครั้งก่อนแล้ว จะเชียนยังไงก็ได้ตามใจชอบเลย ตอนแรกผมก็ตั้งใจว่าจะเขียนไปเรื่อยๆ แหละ แต่พอไม่มีพล็อตเรื่องแล้วมันก็ไม่รู้จะเขียนอะไร พอคิดพล็อตเรื่องก่อนแล้วค่อยเขียน ทุกอย่างก็ง่ายยขึ้นครับ ส่วนเรื่องราวจะเป็นยังไงนั้น มาอ่านกันเถอะ
「宿題いやだ~」
宿題に悩んでいた俺はもうやる気がない。
「空想作文って、俺はできない。だって、 作家になるつもりはないからな。まあいい、 晩御飯の材料を買いに行くわ。」
空想作文書きなさいっていつも先生の声が頭に響いていた。 俺はパソコンで音楽を流しながら、鉛筆で手帳に作文を書いた。 なぜパソコンで書かないかと聞いたら、 鉛筆を握っている時はなんだかいいアイディアがだんだん頭に入っ てくる感じがしたからだ。今は2ページぐらい書いたが、 いいエンディングを思いつかない。俺はもう限界なのだ。
気分転換のため、スーパーに行った方がいいと思った俺は、 自分の部屋を去ったのだった。
「良し、玉ねぎ、にんにく、…」
玉ねぎやにんにくなどいろいろな材料を買った俺はスーパーを出た 。スーパーは自分が住んでいるアパートに徒歩10分ぐらい近いの で、便利だと思う。スーパーに行くことで、 多くの人や景色があって、少しアイディアが頭に入った。
.........
……
…
アパートに帰る途中、 彼は道の隣にかわいそうな猫の姿が目に入った。箱にある黒猫だ。 箱には「私を飼って」と書いてあり、猫の飼い主がないみたいだ。
猫はかわいそうだし、 一人暮らしをしている彼はとても寂しいので、 猫を飼った方がいいかもしれない。
こうして、彼は猫を拾って、一緒にアパートに帰ったのだった
「ただいま」
部屋のドアを通った彼は、そう言った。
「お帰りなさい」
声のトーンを変えた彼は、そう返事した。
「にゃあ‼」
「おや。どうした?腹が減ったかい?」
彼の言葉に、猫が頷いた。そのため、彼は晩御飯を作り始めた。
彼が作ったご飯はラーブムーだ。作り方は、豚肉を刻んで、 玉ねぎやにんにくなどに加えて、 ナンプラーやトウガラシなど調味料を混ぜて、 鍋に入れて火をつける、という一連だ。 もちろんこれは猫のえさではなく、彼は故郷料理が好きなので、 自分のためにこれを作ったのだ。 残った豚肉は電子レンジで焼いて、猫のえさにした。
彼がもち米を握りながら、猫が豚肉を食べている姿を見ていた。 なんとかわいい。しかし、 見た目は可愛くてふわふわしているんだけど、道の隣にいたので、 猫の体は汚いはずだと彼は思った。だから、 ご飯を食べ終わったら、彼は猫とお風呂に入ることにした。
猫と一緒にお風呂に入った彼は、とても幸せだった。 猫が嬉しそうな顔をしている。
それから、彼は清らかな猫と遊んでいた。たとえば、 猫の頭を撫でることや猫に糸を遊ばせることだ。 思わず深夜が訪れ、ふと彼は寝てしまった。
彼が起きると、目の前に女の子の姿があった。 黒いショットカットの髪型をしており、 明るい黄色の瞳がある女の子だ。衣装はメイドの服だ。 それよりも、頭の上に猫耳のようなものがあり、 体の下半身に猫のような尻尾がある。その存在は、彼に近づいた。
「宿題、終わった?」
「ヤバッ!忘れてた。ええと、手帳はどこにあるかな」
「慌てる必要はないよ。妾が教えてあげるにゃ。」
「いや、僕は自分でできる。っていうか、お前は何者だ?」
「ええっ、覚えてないのか。妾は猫だよ。ご主人様!」
「なんだと!猫は人間になった訳がないじゃない。ふざけるな‼」
「それは、ご主人の愛のおかげだよ。その愛は、 ご主人の欲望と相まって、妾がこんな姿になるにゃ」
「欲望?」
「うん。ご主人様は一人暮らしをしていたから、寂しいでしょ? これから、妾はご主人様のそばにいて、面倒を見てあげるにゃ」
「やっぱり信じられないな。まあいい、 どうやって宿題を教えるのかい?」
「あのね、妾はあの手帳を読んだの。とても楽しいにゃ。」
「それで?」
「やっといいエンディングをみつけたにゃ…」
宿題を忘れちゃった彼は、女の子に変身した猫のおかげで、 やっと宿題をし終わった。そろそろ朝御飯の時間だ。 彼が台所に入っているところに、女の子は声をかけた。
「ご主人様。妾にご飯を作らせてください」
「ええっ、いいの?お前、ご飯を作れるの」
「もちろんですよ。任せるにゃ」
そう言った女の子は料理をし始めた。昨日の材料は残ったようで、 スーパーに行く必要はないのだ。出来上がったメニューは「 パットガパオム―」だった。
「はい。どうぞ」
「おいしそう!いただきます」
彼が速く朝御飯を食べた。まあ、 宿題をするのに時間がかかったせいで、今急がないと、 授業に遅れる可能性がある。彼はご飯を食べてから、 お風呂に入った。そして、部屋を出て、一言を言った。
「いってきます」
「いってらっしゃい」
そう返事した女の子が手を振ったので、彼はとても幸せだった。 でも、今は急がないといけないと彼は思った。
「もう9時半だ。授業が始まったぞ。まずいな。もっと速く、 もっと…」
彼は全速で道を走っていたが、突然倒れた。
彼は目覚めたら、自分がまだ布団の上にいることに気付いた。 時計を見ると、7時だった。
「というか、さっきは夢かな。ええっ、猫は?」
彼は猫を探していた。机の上に向けると猫がそこにいた。 猫の隣に破った紙のくずがあった。よく見ると、 それは彼の手帳なのだ。
「てめえ、よくも僕の手帳を破ったな」
せっかく2ページも宿題をしたのに、 猫に破られちゃったと彼は思った。それだけではなく、 彼はいつも手帳を身につけていたことで、 授業に関連したノートや料理のレシピなど、 彼が経験したことが全部この手帳に書かれていた。
そんな彼は、激怒のあまり、台所にあるナイフで猫を切った。
豚肉から作った「ラーブムー」があれば、猫の肉から作った「 ラーブメーァウ」もある。それが彼の朝御飯なのだった。
………
……
…
こんな感じでいいかな。やはりプロットツイストは最高だ。
スーパーを出た俺は、空想作文について考えている。まあ、 ハッピーエンディングはもう飽きたから、 プロットツイストしてバッドエンディングに変えたら面白いじゃな いかなと思って。
しかし、 部屋の様子や猫の外見などもっと詳しい情報を説明したいが、 明日の12時までに提出しなければならないのだ。詳細どころか、 文法や言葉をチェックする余裕もない。残念だけど、 明日の午前は授業があるし、時間があまりないから仕方ないね。
まあいい。さっさと部屋に帰って、妹に材料を手渡す。 俺はあの主人公のように料理ができないのだ。でも、 俺は一人ぼっちじゃいない。せめて妹は俺に手伝ってくれる。
部屋に帰って妹に材料を手渡した俺は、妹が作った「オムライス」 を食べた。オムライスの上に、ケチャップで書かれた「 お兄ちゃん大好き」という言葉があった。可愛すぎる。 俺の妹がこんなに可愛いわけがない。
良し、やる気があったぜ。
こうして、 晩御飯を食べ終わった俺は深夜まで空想作文を書いていた。 それから、手帳を見ながら、パソコンのキーボードを打っていた。 そして、2時半にやり終わった宿題を先生にメールで送ったのだっ た。
เอาละ เป็นยังไงบ้างครับ สนุกกันมั้ยเอ่ย ผมว่าเนื้อเรื่องมันก็งั้นๆ อะนะ เรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เรามาดูเรื่องข้อผิดพลาดเหมือนที่ผ่านๆ มากัน
1. เรื่องคำช่วย
-ประโยค スーパーは自分が住んでいるアパートに徒歩10分ぐらい近い ตรงนี้เปลี่ยน に เป็น から เติม で หลัง ぐらい
-彼がもち米を握りながら、... เปลี่ยนเป็น は
-猫は人間になった訳がないじゃない。ตรงนี้เป็น は เป็น が แล้วก็มีเรื่อง Tense เปลี่ยน なった เป็น なる ด้วย
2.เรื่องคำศัพท์
-箱にある黒猫 เปลี่ยนเป็น いる
-道の隣 เปลี่ยนเป็น 端
-清らかな猫 เปลี่ยนเป็น 洗われた
-彼が速く朝御飯を食べた。เปลี่ยนเป็น 急いで
-やる気があった เปลี่ยนเป็น やる気が出た
3.เรื่องไวยากรณ์
猫の頭を撫でることや猫に糸を遊ばせることだ。
→猫の頭を撫でたり、猫に糸を遊ばせたりした。
เมื่อเทียบกับ リアリティのない作文 ในครั้งก่อนแล้ว รู้สึกว่าการวางพล็อตเรื่องเองก็เป็นอะไรที่ลำบากอยู่เหมือนกัน โดยส่วนตัวแล้วอยากแต่งเรื่องแนวแฟนตาซีเหลือเกิน แต่คงจะยากน่าดู ก็เลยเอาเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเสริมความแฟนตาซีเข้าไปนิดหน่อย แล้วก็มีเรื่องแต่งในเรื่องแต่ง ความฝันกับความเป็นจริง น่าจะงงน่าดูเลยล่ะ55555 ส่วนเรื่องทักษะทางด้านภาษา คิดว่าลดข้อผิดพลาดลงได้เยอะจากครั้งก่อนๆ แล้วก็เขียนได้เยอะขึ้น ไม่ใช้ภาษาพูดในบทบรรยายเหมือนครั้งก่อนแล้ว
จากเรื่องแต่งที่แต่งมา 2 เรื่องเนี่ย ผทบอกว่าเนื้อเรื่องค่อยว่ากันทีหลังใช่มั้ยครับ งั้นบล็กหน้าก็จะเขียนเกี่ยวกับเรื่องแรงบันดาลใจต่างๆ ที่นำมาเขียนเรื่องเล่าเหล่านี้ สำหรับวันนี้ก็ขอตัวก่อนนะครับ บายๆ
7. リアリティのない作文
สวัสดีครับ วันนี้เรามาอ่านอะไรสนุกกัน คราวนี้ ผมได้รับมอบหมายให้เขียนเรื่องที่ได้วางพล็อตเรื่องไว้แล้ว ซึ่งพล็อตเรื่องเป็นดังนี้
・道を歩いたら、向かうからおばけがきました。
・こわくなったぼくはにげました。
・おばけは追いかけてきました。
・おばけがふえていました。何人ものおばけが出てきました。
・ぼくは近くの家に入りました。そこもおばけの家でした。
・またこわくなってにげました。
・野原までにげたら、友だちがいました。
・「えいっ。」といっておばけをやっつけてくれました。
เอาละ ทีนี้ก็เอาพล็อตเรื่องมาแต่งเรื่องดังนี้ ตรงไหนได้รับฟีดแบคจากอาจารย์ ผมก็จะไฮไลท์สีส้มไว้เหมือนนะ มาอ่านกันเถอะ
超疲れたぜ。
一日中学校の中で歩き回り、クラブを探していた俺は、 迷っていた。
気に入っているクラブが一つたりともなかったのだ。まあ、 今日は新学期が始まる日だし、慌てない慌てない。
高校一年生の佐藤一郎は、今日だけ帰宅部に入った。
いつもの通り、徒歩で家に帰っている俺は、 一人で自然の恵まれた町を観察するのが好き。まあ、 クラブがまだ入っていないから、友達がまだできていないのは、 当選だよね。だよね?
俺は初めてこの町に来た。父親は突然仕事を変えたので、 この町に移ることになった。
この町は有名ではないけど、 一応森林や河川など自然のところがすごい。しかも、 怪談話はたくさんあるので、 伝統的な文化はかなり豊かそうである。
怪談話?まあ、お化けがあるわけないだろ!
そう思いながら、夕暮れの景色を見ていた俺は、 霧がさっきより厚いと感じた。まさか!?
道を歩いていたら、向こうからお化けが来た。それは、 火の玉のお化けだった。そう見えて怖くなって俺は、 その場を去って逃げた。
危なかった。怪談話は自分の目の前にあったとは思えなった。
そう思いつつ、お化けに追いかけてきた俺は、全速で走っていた。 クラブを探したせいでもう疲れたのに、 お化けから逃げたことは死ぬほど疲れた。
走れば走るほどお化けが増えていた。何人もお化けが出てきた。 例えば、顔のないお化けや傘のお化けなどである。
このまま走ったら、足の力を失って、捕まえちゃうはず。 隠す場所を探さなくちゃと思っていた俺は、近くの家に入った。 そこもお化けの家だった。
だめだ。このまま隠したら、家に帰られなくなって、 父親が作った晩御飯を食べないことになってしまうのだ。
さらに、お化けの家なので、さっきより雰囲気が怖かった。
また怖くなって俺が、野原まで逃げたら、友達がいた。
友達?疲れ切った俺がふらふらしていたせいで、 小学校の友達の姿が目に入っちゃった。
よく見ると、あの人は一人の女の子だった。
まあ、友達じゃないけど、 確かにどこかで会ったことがあるような感じがする。学校かな?
「あんた、ここに何をしに来てんのか?」
「早く逃げろ‼お化けが来たぞ。本当のお化けだ。信じてくれ」
「ふーん。あんたもお化けが見えたか?」
そう言った女の子は、お化けがいる方向に進んだ。 俺はその動きを見て、思わず問いを投げかけた。
「何をするつもり?」
「見ればわかるでしょ?フフフフ!!」
女の子はそう笑いながら、手を挙げた。 そのてのひらの上に光はキラリと輝いていた。
野原に到着した時は薄暗いので、 小学校の友達かと勘違いしたほど、女の子の顔があまり見えない。
しかし。その光のおかげでハッキリ見えた。 金髪でツインテールの髪型をしている女の子の瞳がつやつやと光っ ている。なんと美しい。
「ホリーライト。くらえいっ!」
あの女の子は何と言ったか聞こえないが、なんとか「えいっ。」 と言ってお化けをやっつけてくれた。
「消えた!?」
「そう。低級魔物を消したわ。このあたしの手でね」
「魔物?どういう意味?」
「まあ、あれは普通の人間なら見えないけど。 あんたは魔物が見えたのは、何かの力が体の中に隠しているはず。 たぶん超能力者になれるかも」
「なんだと!」
「その話は後で説明するわ。明日、学校の森林の中にある、 旧館に来てくれないかな」
「えっ?学校にそんなところはあるの!そこで何があるのか?」
「エクソシスト部。他の人に心霊術部と言われたりしたけど、 あたしたち超能力者の部活は、魔王を討伐する作戦を練ることだ。 さっきみたいな低級魔物はただゴミクズだわ」
「はあ」
「一年生のシャーロットだ。よろしくね」
「あ、自己紹介忘れた。俺は佐藤。佐藤一郎。 お前と同じ一年生だ。よろしく」
俺はシャーロットとそこで別れた。
自分には何の力があるのか証明してみたいし、 もうお化けを逃げたくないから、 このクラブに入った方がいいだろう。
それに、全部のクラブを歩き回ったと思ったのに、 学校にそんな秘密の場所があるなんて思わなかった。
こうして、俺はエクソシスト部に入ることにしたのだった。
เป็นยังไงบ้างครับ สนุกหรือเปล่าเอ่ย เนื้อเรื่องค่อยว่ากันทีหลัง เอาเป็นว่าตอนนี้มาดูข้อผิดกันเลยดีกว่า สรุปคร่าวๆ ได้ดังนี้
1. เรื่องคำช่วย
-クラブがまだ入っていない เปลี่ยนเป็น に
-もうお化けを逃げたくない เปลี่ยนเป็น から
2. เรื่องคำศัพท์และไวยากรณ์
-คำว่า 隠す場所 ใช้ไม่ได้ เพราะ 場所 ไม่ได้เป็นผู้กระทำ ต้องเป็น 身を隠す場所 จึงจะได้ความว่าเราเอาตัวเราไปซ่อนที่นั่น
-คำว่า 食べない เปลี่ยนเป็น 食べられない ดีกว่า เพราะจะได้ความหมายว่าถ้ากลับช้าจะกินข้าวที่พ่อทำไม่ได้นั่นเอง
-あの人 อันนี้ต้องเป็น その人
-さらに เปลี่ยนเป็น それに
-なって เปลี่ยนเป็น なった
3. เรื่องภาษาพูด
ในบทบรรยาย Narrator ต้องใช้ภาษาเขียน มีหลายที่ที่ใช้ ちゃう・ちゃった ต้องเปลี่ยนเป็น しまう・しまった และ なくちゃ ต้องเขียนเป็นรูปเต็มด้วยคือ なくてはいけない
4. พิมพ์ผิดเล็กๆ น้อยๆ อย่างคำว่า 当然 ถ้าลืมใส่เต็นเต็นพอพิมพ์ออกมาก็จะเป็น 当選
เมื่อเทียบกับ 目に浮かぶ描写 ในครั้งก่อนแล้ว ผมรู้สึกว่าผมได้พัฒนาการเขียนมากขึ้น เพราะครั้งนี้เราไม่ได้เห็นภาพการ์ตูน 4 ช่องเหมือนครั้งก่อน ครั้งนี้ให้มาเป็นข้อความซึ่งเป็นพล็อตเรื่องสั้นๆ ส่วนที่เหลือเราต้องสมมุติขึ้นมาเอง อย่างเช่นการกำหนดฉาก ในที่นี้กำหนดให้เป็นบริเวณโรงเรียน การสร้างตัวละคร และการดำเนินเรื่อง เป็นต้น ส่วนเรื่องทักษะทางด้านภาษาก็คิดว่าไดพัฒนาเช่นกัน เพราะลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้บ้าง ถึงจะเขียนยาวขึ้นก็ตาม
ในครั้งต่อไปจะเป็น 空想作文 ที่ต้องคิดพล็อตเรื่องแล้ว ครั้งนี้ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ บายๆ
วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
6. 目に浮かぶ描写
สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของผมอีกครั้งนะ รู้สึกว่าไม่ได้อัพบล็อกมานานแล้ว วันนี้ก็เลยจะมาอัพรัวๆ เลย
เอาละ สำหรับเรื่องที่ว่าจะอัพตั้งนานแล้ว แต่ก็ดองไว้ย่างงั้นเลยก็คือเรื่อง 目に浮かう描写 นั่นเอง
สำหรับหัวข้อนี้ กิจกรรมครั้งแรกก็คือการดูรูปภาพแล้วเล่าให้เพื่อนฟัง รูปภาพที่ผมได้ดูก็คือการ์ตูน 4 ช่อง สรุปคร่าวๆ ได้ว่า เด็กทารกคนหนึ่งจะขี่หลังสุนัข แต่สุนัขก็ไม่ให้ขี่สักที
อันนี้คืออันที่ผมเล่านะ
えー。ある赤ちゃんは、犬のしっぽを遊びたいので、犬に近づきました。すると、犬に近づいたら、犬のしっぽじゃなくて、犬の顔を見つめて赤ちゃんはびっくりしました。それで、赤ちゃんは犬のしっぽをつかめよう、つかめようとしていて、赤ちゃんは、えー、犬の体を回って、えっ、犬の体を回りました。最後に、犬の体を、赤ちゃんは犬の体を回ると、また犬の顔にあった、あいました。終わりです。
เป็นยังไงบ้าง อ่านเข้าใจไหมครับ
ตอนที่เล่าเรื่องนี้ ผมก็งงๆ อยู่นิดหน่อยน่ะ รู้สึกเล่าไม่ค่อยถนัดเลยแฮะ
จะสังเกตได้ว่า มีฟิลเลอร์เยอะอยู่พอสมควร ส่วนมากจะมีแต่ えー แต่ถ้าเป็นเรื่องที่คนญี่ปุ่นเล่าให้กันฟัง ฟิลเลอร์ก็จะมีหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น へー ほー ああ และเสียงหัวเราะ
หลังจากที่ผมได้เล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนฟังแล้ว ผมก็ได้ดูชีทที่คนญี่ปุ่นเป็นคนเล่าครับ มีคำศัพท์มี่ได้เรียนรู้เยอะมาก ตอนที่ทารกเข้าไปใกล้สุนัขจะใช้คำว่าอะไรเอ่ย ผมใช้แต่คำว่า 近づく น่ะ แต่ว่าในชีทมีคำศัพท์ ハイハイする 忍びよる ด้วย นึกไม่ถึงจริงๆ นอกจากนี้ยังมีการใช้กริยาซ้อนกัน หรือเรียกกันว่า 複合動詞 อีกด้วย เช่น ハイハイして近づく การใช้คำเลียนเสียง เช่น グルっと
ส่วนเรื่องการเล่าเรื่องนั้น ผมก็เล่าไปเรื่อยๆ ตามภาพที่เห็นอยู่ แล้วก็ไม่ได้อธิบายรายละเอียดย่อยๆ ด้วย พอไปดูชีทของคนญี่ปุ่นแล้ว รู้สึกว่ามีสไตล์การเล่าเรื่องที่หลากหลายขึ้น เช่น การอธิบายรายละเอียดตัวละคร การแทรกความนึกคิดของตัวละคร การใส่ความคิดเห็นของผู้เขียน
ผมคิดว่า การแทรกความนึกคิดของตัวละครเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะจะทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วมกับตัวละครได้หรือเปล่านะ? อย่างไรก็ตาม มาดูกันเลยดีกว่า
ある時、まだ一才未満ほどで、小さな赤ちゃんがいます。赤ちゃん の近くには、自分と同じくらいの大きさの犬が寝ています。 赤ちゃんは、寝ている犬を見て、 犬の背中に乗ってみたいと思いつつ、犬の背後からそっとハイハイ して忍び寄ります。しかし、犬と目があってしまいます。 犬は赤ちゃんの気配に気づいて、起きてしまったのです。 そのせいで、赤ちゃんは大変驚きます。犬に乗れなくなったので、 乗犬作戦を考え直すしかありません。今は後退して、 もっと静かにもう一回近づいたら大丈夫でしょう。そう考えた赤ち ゃんは、犬から離れて、一周回って、犬が寝ているのをいいことに 、もう一度犬の尻尾の方に近づきます。その結果、また犬に顔を合 わせてしまいます。どうやら犬は起きてから、ずっと赤ちゃんを警 戒しながら、寝たふりをしているらしいです。赤ちゃんがハイハイ している音を聞いて、背後に接近されたら、すぐに向きを変えます 。赤ちゃんの甘すい考えを見通すのでしょう。
จุดที่ไฮไลท์สีส้มไว้คือจุดที่ต้องแก้ไข ดังนี้
-ある時 ถ้าเราจบประโยคด้วย ~ます ไม่จำเป็น แต่ถ้าจบประโยคด้วย る อาจจะใช้ได้ ดังนั้น ในประโยคนี้จึงตัดออก
-で เปลี่ยนเป็น の
-つつ ใช้แล้ว ประโยคด้านหลังจะแสดงความหมายขัดแย้ง ดังนั้น เปลี่ยนเป็น ながら
-そのせいで ใช้กับผลลัพธ์ที่ไม่ดี ดังนั้น เปลี่ยนเป็น したがって หรืออีกวิธีหนึ่งคือนำประโยคหน้ากับหลังมารวมกัน จะได้ว่า 犬は赤ちゃんの気配に気づいて、起きてしまい、赤ちゃんは大変驚きます。
-乗犬作戦 ไม่มีคำนี้ อาจจะเปลี่ยนเป็น 犬に乗る作戦
-今は เปลี่ยนเป็น 一度 หรือ いったん แต่ชอบ いったん เพราะความหมายตรงกับที่จะสื่อพอดี
-て ตรงนี้จะเห็นว่ามีรูป て ซ้อนกันหลายที่ อาจจะแบ่งให้ตัวหน้าเป็น て อีกตัวเป็น ます จะได้ว่า そう考えた赤ち ゃんは、犬から離れて、一周回ります。犬が寝ているのをいいことに 、もう一度犬の尻尾の方に近づきます。
-その結果 เติม しかし ข้างหน้าเพื่อแสดงความขัดแย้ง
-らしい ใช้ตอนได้ยินอะไรมา+ความรู้สึก ดังนั้น เปลี่ยนเป็น よう
-甘すい ตอนแรกจะเขียนเป็น 甘すぎる ต่อมาคิดว่า 甘い ก็พอแล้ว แต่ดันลบออกไม่หมดซะงั้น
-見通す อันนี้ผิดที่ Aspect ต้องเปลี่ยนเป็น 見通している。
จะเห็นได้ว่า ครั้งนี้มีตรงที่คำศัพท์และไวยากรณ์ผิดเยอะอยู่ ครั้งหน้าที่เขียน 空想作文 หวังว่าจะผิดน้อยลง
แล้วก็ในการเล่าเรื่องครั้งนี้ สิ่งที่ได้พยายามอีกอย่างก็คือ การใช้ ~のだ หวังว่าจะช่วยให้เพิ่มออรถรสในการอ่านได้มายิ่งขึ้น
นอกจากนี้ผมก็ได้อธิบายความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร ทั้งฝั่งเด็กทารกและสุนัข อธิบายรายละเอียดตัวละครเล็กน้อย แต่สิ่งที่ไม่ได้ทำคือการใช้คำเลียนเสียง นับว่าน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง แต่โดยรวมก็ถือว่าโอเค ตัวเองได้พัฒนาทักษะในการเขียนเล่าเรื่องมากขึ้น แล้วก็ได้ค้นคว้าคำศัพท์และไวยากรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเล่าเรื่องอีกด้วย
อย่างไรก็ดี นอกจาก Story Telling ในบล็อกนี้แล้ว บล็อกหน้าก็มาอ่าน 空想作文 กันเถอะ
วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562
5. มารู้จักคำสุภาพ
สวัสดีครับ ไม่ได้อัพบล็อกซะนานเลย ในคาบเรียนของสัปดาห์ก่อนมีวิทยาการมาให้ความรู้เกี่ยวกับคำสุภาพครับ ส่วนวันนี้เรามาดูกันว่าคำสุภาพในภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะยังไง
เพราะว่าคำยกย่องและคำถ่อมตนทั้งหลายนั้น แบ่งการใช้งานเป็น 2 แบบ คือ รูปพื้นฐานกับรูปสุภาพนั่นเอง
เราจะใช้คำยกย่องก็ต่อเมื่อ เวลาเรากล่าวถึงบุคคลที่เราเคารพนับถือ อาจเป็นผู้ที่อาวุโสมากกว่า หรือผู้ที่มีสถานภาพสูงกว่า เช่น อาจารย์ ประธานบริษัท หัวหน้าแแผนก ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงการยกย่องบุคคลดังกล่าว ดังนั้นไม่ว่าจะเวลาไหนก็ตาม ตราบใดที่เนื้อหาของสารกล่าวถึงคนที่เราจะยกย่อง เราก็ต้องใช้คำยกย่องแทนบุคคลนั้น แล้วก็ใช้คำถ่อมตนแทนตัวเราด้วย
เวลาเราพูดกับเพื่อนเราใช้กริยารูปพจนานุกรม ไม่ต้องผันรูปเป็นรูปสุภาพ กริยารูปนี้จึงแสดงความใกล้ชิดระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง แต่ว่าถ้าเนื้อหาของสารที่เราจะส่งไปหาเพื่อนนั้นกล่าวถึงอาจารย์ หรือบุคคลใดๆ ที่เราต้องการให้การยกย่องแล้วละก็ เราก็จะใช้คำยกย่องที่เป็นรูปพื้นฐาน หรือรูปที่ไม่ผัน เช่น 先生は教室にいらっしゃる。 ประโยคนี้ใช้พูดกับเพื่อนจึงไม่ได้ผันเป็นรูปสุภาพ แต่ที่ใช้กริยายกย่องก็เพราะว่ากริยา いらっしゃる ใช้แสดงความยกย่องต่ออาจารย์นั่นเอง
ส่วนคำยกย่องรูปสุภาพใช้ในกรณีที่ผู้พูดเป็นอาจารย์แล้วเนื้อหาในสารเป็นอาจารย์ ผู้ฟังกับบุคคลในสารอาจเป็นคนเดียวกันก็ได้ เช่น 何を召し上がりましたか。ในที่นีคนที่รับประทานก็คืออาจารย์ แล้วเราก็ถามอาจารย์คนนั้นว่ารับประทานอะไร หรืออีกกรณีหนึ่งผู้ฟังเป็นอาจารย์ A แล้วบุคคลในสารเป็นอาจารย์ B เราจะถามอาจารย์ A ว่าอาจารย์ B อยู่ไหนได้ว่า B先生はどこにいらっしゃいますか。ในที่นี้ いらっしゃる แสดงความยกย่องต่อบุคคลในสาร คืออาจารย์ B และรูป ~ます แสดงความสุภาพต่ออาจารย์ A นั่นเอง แต่ถ้าถามอาจารย์ A ว่า C ที่เป็นเพื่อนอยู่ไหน ก็จะพูดว่า Cさんはどこにいますか。 ในที่นี้ใช้รูป いる ต่อ C เพราะเป็นเพื่อน แต่ก็ยังคงใช้รูป ~ます แสดงความสุภาพต่ออาจารย์ A เหมือนเดิม
จากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าการใช้รูปสุภาพ (Vます) หรือรูปพื้นฐาน (Vる) นั้นขึ้นอยู่กับผู้ฟัง และการใช้คำยกย่อง รวมถึงคำถ่อมตน หรือใช้รูปพื้นฐานนั้นขึ้นอยู่กับบุคคลในเนื้อความนั่นเอง
5.1 คำสุภาพใช้ยังไง
ตอนแรกคิดว่าคำสุภาพเป็นยังไงกันเหรอ ตอนแรกผมก็นึกว่า คำยกย่องใช้พูดกับคนที่มีสถานภาพสูงกว่า คำถ่อนตนใช้แทนตัวเราเองในขณะที่พูดกับคนคนนั้น แต่ว่ามันไม่ใช่แค่นั้นน่ะสิเพราะว่าคำยกย่องและคำถ่อมตนทั้งหลายนั้น แบ่งการใช้งานเป็น 2 แบบ คือ รูปพื้นฐานกับรูปสุภาพนั่นเอง
เราจะใช้คำยกย่องก็ต่อเมื่อ เวลาเรากล่าวถึงบุคคลที่เราเคารพนับถือ อาจเป็นผู้ที่อาวุโสมากกว่า หรือผู้ที่มีสถานภาพสูงกว่า เช่น อาจารย์ ประธานบริษัท หัวหน้าแแผนก ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงการยกย่องบุคคลดังกล่าว ดังนั้นไม่ว่าจะเวลาไหนก็ตาม ตราบใดที่เนื้อหาของสารกล่าวถึงคนที่เราจะยกย่อง เราก็ต้องใช้คำยกย่องแทนบุคคลนั้น แล้วก็ใช้คำถ่อมตนแทนตัวเราด้วย
เวลาเราพูดกับเพื่อนเราใช้กริยารูปพจนานุกรม ไม่ต้องผันรูปเป็นรูปสุภาพ กริยารูปนี้จึงแสดงความใกล้ชิดระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง แต่ว่าถ้าเนื้อหาของสารที่เราจะส่งไปหาเพื่อนนั้นกล่าวถึงอาจารย์ หรือบุคคลใดๆ ที่เราต้องการให้การยกย่องแล้วละก็ เราก็จะใช้คำยกย่องที่เป็นรูปพื้นฐาน หรือรูปที่ไม่ผัน เช่น 先生は教室にいらっしゃる。 ประโยคนี้ใช้พูดกับเพื่อนจึงไม่ได้ผันเป็นรูปสุภาพ แต่ที่ใช้กริยายกย่องก็เพราะว่ากริยา いらっしゃる ใช้แสดงความยกย่องต่ออาจารย์นั่นเอง
ส่วนคำยกย่องรูปสุภาพใช้ในกรณีที่ผู้พูดเป็นอาจารย์แล้วเนื้อหาในสารเป็นอาจารย์ ผู้ฟังกับบุคคลในสารอาจเป็นคนเดียวกันก็ได้ เช่น 何を召し上がりましたか。ในที่นีคนที่รับประทานก็คืออาจารย์ แล้วเราก็ถามอาจารย์คนนั้นว่ารับประทานอะไร หรืออีกกรณีหนึ่งผู้ฟังเป็นอาจารย์ A แล้วบุคคลในสารเป็นอาจารย์ B เราจะถามอาจารย์ A ว่าอาจารย์ B อยู่ไหนได้ว่า B先生はどこにいらっしゃいますか。ในที่นี้ いらっしゃる แสดงความยกย่องต่อบุคคลในสาร คืออาจารย์ B และรูป ~ます แสดงความสุภาพต่ออาจารย์ A นั่นเอง แต่ถ้าถามอาจารย์ A ว่า C ที่เป็นเพื่อนอยู่ไหน ก็จะพูดว่า Cさんはどこにいますか。 ในที่นี้ใช้รูป いる ต่อ C เพราะเป็นเพื่อน แต่ก็ยังคงใช้รูป ~ます แสดงความสุภาพต่ออาจารย์ A เหมือนเดิม
จากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าการใช้รูปสุภาพ (Vます) หรือรูปพื้นฐาน (Vる) นั้นขึ้นอยู่กับผู้ฟัง และการใช้คำยกย่อง รวมถึงคำถ่อมตน หรือใช้รูปพื้นฐานนั้นขึ้นอยู่กับบุคคลในเนื้อความนั่นเอง
5.2 ผันกริยายังไงดี
การผันคำกริยาให้เป็นคำยกย่อง จะใช้รูป お~になる หรือ ~られる และการผันคำกริยาให้เป็นคำถ่อมตน จะใช้รูป お~する เช่นคำว่า 待つ ผันเป็นรูปยกย่องว่า お待ちになる หรือ 待たれる และรูปถ่อมตนว่า お待ちする
แต่ก็มีคำที่มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง เพราะไม่ได้ผันแบบนี้ ต้องจำคำศัพท์เพิ่ม เช่น
คำปกติ คำยกย่อง คำถ่อมตน
言います おっしゃいます 申します
行きます/来ます いらっしゃいます 参ります
います いらっしゃいます おります
知りまっす ご存知です 存じています
食べます/飲みます 召し上がります いただきます
見ます ご覧になります 拝見します
5.3 ข้อควรระวัง
การใช้คำสุภาพมีข้อควรระวังคือ ห้ามใช้คำสุภาพซ้อนกัน หรือที่เรียกกันว่า 二重敬語 เช่นคำยกย่องมีวิธีการผันคือ お~になる หรือ ~られる ควรเลือกผันรูปใดรูปหนึ่งเท่านั้น ถ้าผัน 待つ เป็นรูปยกย่องว่า お待ちになられる จะใช้ไม่ได้ หรือกริยารูป ~ている ถ้าผันคำกริยาข้างหน้า ~ている เป็นคำยกย่องหรือถ่อมตนแล้ว จะผัน いる เป็น いらっしゃる หรือ おる ไม่ได้ เช่น お待ちになっていらっしゃる ใช้ไม่ได้ ควรใช้เป็น お待ちになっている หรือ 待っていらっしゃる
อีกข้อควรระวังหนึ่งก็คือ มีกริยาบางตัวที่ใช้ได้แค่รูป ~ます จะใช้รูปพจนานุกรมไม่ได้ เช่น ございます ไม่มี ござる เพราะถือว่าต้องแสดงความสุภาพต่อผู้ฟังอยู่ตลอด เช่น การให้ข้อมูลแก่ลูกค้า นอกจากนี้ยังมีคำว่า ~でございます(~に)おります 参ります ~と申します
สำหรับบล็อกนี้ก็จบแล้วครับ มีเรื่องที่ผมยังไม่รู้หลายๆ อย่างเลย เช่น การใช้คำสุภาพกับผู้ฟัง และบุคคลในเนื้อหามีความแตกต่างกันครับ แต่ก่อนผมนึกถึงแต่ว่าผู้ฟังเป็นใครเพียงอย่างเดียว ไม่ได้นึกถึงบุคคลในเนื้อหาเลย จึงถือว่าได้เรียนรู้เป็นอย่างมาก แล้วก็ข้อควรระวัง ผมก็ได้เรียนรู้เพิ่มเติมว่า มีคำกริยาที่ต้องใช้รูปสุถาพเท่านั้น สำหรับความรู้ในวันนี้ก็ขอขอบคุณวิทยาการมากๆ ครับ
วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
4.3 มาอธิบายให้เห็นภาพกันเถอะ (ครั้งที่ 3)
手際の良い説明(第三回)
กลับมาพบกันอีกครั้ง สวัสดีทุกคนครับ
ครั้งนี้เราก็ยังอยู่ในเรื่องการอธิบายให้เห็นภาพเหมือนเดิม แต่ครั้งนี้จะแตกต่างจากครั้งก่อนก็คือ เพราะในครั้งก่อน ก่อนที่จะแก้ไขผมได้อ่านของเพื่อน และก็ศึกษาตัวอย่างการบอกทางจากชีทที่อาจารย์แจกแล้วก็แก้ไขเองเลยครับ แต่ครั้งนี้ผมได้รับ Feedback จากอาจารย์แล้ว ขอขอบคุณอาจารย์มา ณ ที่นี้ครับ
ต่อจากนี้ จะเป็นอันที่แก้จาก Feedback ครับ โดยผมจะไฮไลท์จุดที่แก้ไว้ แล้วก็ลิสต์ออกมาว่าทำไมถึงต้องแก้ เอาละ มาดูกันเลยดีกว่า
タイトル:チュラ大の文学部への道案内
BTSチョンノンシー駅からチュラーロンコーン大学文学部BRKビルまでの道のりを説明します。手段は、BTSシーロム線、徒歩です。
まず、BTSチョンノンシー駅は地下鉄の駅ではないため、階段やエスカレーターを昇ります。それから、販売機や窓口でサイアム駅の切符を買ってください。26バーツですが、販売機には硬貨しか入れないので、紙幣を入れないように注意してください。26と書いてあるボタンを押し、硬貨を入れ、カードを取るという順になります。お釣りを忘れないようにしましょう。改札口を通ったら、シーロン線のナショナルスタジアム駅行きの電車に乗りましょう。チョンノンシー、サラデーン、ラチャダムリ、サイアム駅の順に停まるので、三つ目のサイアム駅で下車してください。サイアム駅に到着する前に、「Next
Station, Siam.」というアナウンサーの声が聞こえます。
次に、6番出口を確認しましょう。下車したら、改札口がある段階まで階段を下ります。改札口を出ないで、「Exit⑥」という緑色の看板を探してください。それから、改札口を出て、6番出口の看板がある方を進みます。看板を通ると、目の前にアンリ・デュナン通りが見えます。その看板を背にして、そのまま歩くと、右側に最初の階段が見えます。スカイウォークで道路を渡らないで、その階段を下りてください。前方に進み、階段を下りると、道路が左側に見えます。
続いて、アンリ・デュナン通りを左手に見ながら、真っ直ぐ進み、750メートルを歩いてください。(人がよく通っているので、走らない方がいいです。)チュラーロンコーン大学の入口に到着する前に、一つ目の歩道橋が見えます。(BTS近くのスカイウォークを除くと、その歩道橋は一つ目です。)その歩道橋のすぐ近くにサーティット・パトゥムワン中高等学校の校門があります。歩道橋を通過して(渡らないで)、もう少し歩くと、次の入口が見えます。それは、チュラーロンコーン大学の入口です。その入口の前に立ったら、アンリ・デュナン通りを背にして、前方に進んでください。右側にある最初の白い外壁のビルは文学部のMCSビルで、1階に食堂と「True
Coffee」という喫茶店があります。MCSビルの左隣にもう一つの白い外壁のビルがあります。そこが文学部のBRKビルで、中央部に穴が開いたような形が見えます。そして、BRKビルに向かいましょう。
จะเห็นว่าผมไฮไลท์ข้อความไว้ นั่นคือจุดที่แก้เรียบร้อยแล้วนั่นเอง ต่อไปนี้ผมจะแสดงความคิดเห็นจากจุดที่แก้ไปแล้ว โดยเรียงตาม ข้อความที่แก้ Feedback ความคิดเห็น ดังนี้
1) シーロンム
มาจากคำว่า "สีลม" ครับ เขียนผิดซะแล้ว T_T
1) 26バーツですが、販売機には硬貨しか入れないので、紙幣を入れないように注意してください。26と書いてあるボタンを押し、硬貨を入れ、カードを取るという順になります。お釣りを忘れないようにしましょう。
มาจากคำว่า "สีลม" ครับ เขียนผิดซะแล้ว T_T
1) 26バーツですが、販売機には硬貨しか入れないので、紙幣を入れないように注意してください。26と書いてあるボタンを押し、硬貨を入れ、カードを取るという順になります。お釣りを忘れないようにしましょう。
ตรงส่วนนี้อาจารย์ให้ Feedback ว่าหากบอกรายละเอียดข้อควรระวังการซื้อจะดีมาก เช่น ต้องใช้เหรียญเท่านั้น ซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่แตกต่างจากญี่ปุ่น และต้องกดปุ่มก่อน
จาก Feedback นี้ ผมจึงเพิ่มข้อควรระวังว่า ให้ใช้เหรียญเท่านั้น ห้ามใส่ธนบัตรนะ (เพิ่งรู้ว่าที่ญี่ปุ่นใช้ธนบัตรได้แหละครับ555) แล้วก็ที่ว่าต้องกดปุ่มก่อนน่าจะหมายถึงปุ่มราคา ผมก็แล้วเขียนว่าให้กดปุ่มที่มีเลข 26 แล้วก็บอกขั้นตอนเป็นลำดับว่า กดปุ่ม หยอดเหรียญ รับบัตร สุดท้ายก็อย่าลืมเงินทอนกันนะค้าบบบบบ
2) ナショナルスタジアム
มีคำอื่นไหม หรือถ้าเป็นภาษาอังกฤษจะเข้าใจง่ายกว่า
ผมเห็นด้วยครับว่าถ้าใช้ภาษาอังกฤษจะเข้าใจง่ายกว่า เพราะชาวต่างชาติที่มาก็จะเข้าใจว่ามันคือ National Stadium สำหรับคนญี่ปุ่นก็เลยถอดเสียงเป็น ナショナルスタジアム ครับ
3) 改札口がある段階まで階段を下ります
ลงบันได 2 ครั้งหรือเปล่า
ตอนแรกผมเขียนไปว่าลงบันใดไป 1 ครั้ง พอมาคิดอีกทีผมก็ไม่แน่ใจนะ แต่ 2 ครั้งหรือเปล่าผมก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะแต่ละคนอาจจะนับการลงบันไดไม่เหมือนกันก็ได้ เลยเอาเป็นว่าลงไปชั้นที่มีเครื่องตรวจตัวละกัน เพราะผมมั่นใจว่าลงแน่ๆ ไม่ใช่ขึ้น แล้วก็ชั้นที่มีเครื่องตรวจตัวมีชั้นเดียวแน่นอน ลงไปถึงก็เห็นครับ
4) 看板を通ると、目の前にアンリ・デュナン通りが見えます。
ควรบอกชื่อก่อนค่อยบอกทาง
เห็นด้วยครับ ตอนแรกผมไม่รู้ว่าจะบอกชื่อถนนอังรีดูนังตอนไหนดี เลยบอกตอนที่ลงบันไดสกายวอร์คเลย เพราะตอนนั้นตัวคนจะอยู่ใกล้ถนนที่สุดแล้ว แต่ว่าพอออกจากทางออกที่ 6 แล้วค่อยบอกชื่อดีกว่า เพราะว่าพอเดินออกมาก็เห็นถนนอังรีดูนังแล้ว แถมเราต้องบอกอีกว่าอย่าข้ามถนนนั้นนะ ลงบันไดแล้วจะเจอถนนอยู่ซ้ายมือนะ เป็นต้น ดังนั้น ควรบอกชื่อก่อนค่อยบอกทางครับ
5) BTSに近くのスカイウォーク
6) その歩道橋のすぐ近くにサーティット・パトゥムワン中高等学校の校門があります
อันนี้เป็นคำศัพท์ที่เพิ่งรู้เลยครับ ตรงนี้เป็น すぐ近くに ไม่ใช่ 最も近い
7) 通過して
通過して คำนี้ใช้มาก
ผมคำว่าใช้คำนี้ก็ดีครับ จะได้ใช้คำให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ใช้แต่ 通る อย่างเดียว
8) 左隣
左隣 ซ้ายหรือขวา บอกจะได้รู้
เห็นด้วยครับ เพราะว่าในเมื่อบอกผู้อ่านแล้วว่าหันหน้าไปทางไหน เราก็ควรบอกว่าตึกไหนอยู่ด้านไหนของตึกไหน ในกรณีนี้ผู้อ่านเข้ามาในรั้วจุฬาทางประตูที่ติดกับถนนอังรีดูนัง ซึ่งถัดจากประตูสาธิตปทุมวัน พอผู้อ่านหันหน้าไปทาง MCS แล้วก็จะเห็น BRK อยู่ทางซ้ายครับ
8) そこが
อันนี้เป็นความผิดพลาดทางไวยากรณ์ครับ ถ้าเราบรรยายลักษณะของอะไรบางอย่างในประโยคก่อนหน้าแล้ว ต้องการจะบอกว่าสิ่งนั้นคืออะไรในประโยคที่ตามมา ก็ควรใช้ が มากกว่า は
ผมได้แก้ไขวิธีบอกทางเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้คำแนะนำครับ แต่มันยังไม่จบเท่านี้ เพราะตอนนี้ผมยังไม่ดูเฉลยเลย
มาดูกันเลยดีกว่า
3) 改札口がある段階まで階段を下ります
ลงบันได 2 ครั้งหรือเปล่า
ตอนแรกผมเขียนไปว่าลงบันใดไป 1 ครั้ง พอมาคิดอีกทีผมก็ไม่แน่ใจนะ แต่ 2 ครั้งหรือเปล่าผมก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะแต่ละคนอาจจะนับการลงบันไดไม่เหมือนกันก็ได้ เลยเอาเป็นว่าลงไปชั้นที่มีเครื่องตรวจตัวละกัน เพราะผมมั่นใจว่าลงแน่ๆ ไม่ใช่ขึ้น แล้วก็ชั้นที่มีเครื่องตรวจตัวมีชั้นเดียวแน่นอน ลงไปถึงก็เห็นครับ
4) 看板を通ると、目の前にアンリ・デュナン通りが見えます。
ควรบอกชื่อก่อนค่อยบอกทาง
เห็นด้วยครับ ตอนแรกผมไม่รู้ว่าจะบอกชื่อถนนอังรีดูนังตอนไหนดี เลยบอกตอนที่ลงบันไดสกายวอร์คเลย เพราะตอนนั้นตัวคนจะอยู่ใกล้ถนนที่สุดแล้ว แต่ว่าพอออกจากทางออกที่ 6 แล้วค่อยบอกชื่อดีกว่า เพราะว่าพอเดินออกมาก็เห็นถนนอังรีดูนังแล้ว แถมเราต้องบอกอีกว่าอย่าข้ามถนนนั้นนะ ลงบันไดแล้วจะเจอถนนอยู่ซ้ายมือนะ เป็นต้น ดังนั้น ควรบอกชื่อก่อนค่อยบอกทางครับ
5) BTS
6) その歩道橋のすぐ近くにサーティット・パトゥムワン中高等学校の校門があります
อันนี้เป็นคำศัพท์ที่เพิ่งรู้เลยครับ ตรงนี้เป็น すぐ近くに ไม่ใช่ 最も近い
7) 通過して
通過して คำนี้ใช้มาก
ผมคำว่าใช้คำนี้ก็ดีครับ จะได้ใช้คำให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ใช้แต่ 通る อย่างเดียว
8) 左隣
左隣 ซ้ายหรือขวา บอกจะได้รู้
เห็นด้วยครับ เพราะว่าในเมื่อบอกผู้อ่านแล้วว่าหันหน้าไปทางไหน เราก็ควรบอกว่าตึกไหนอยู่ด้านไหนของตึกไหน ในกรณีนี้ผู้อ่านเข้ามาในรั้วจุฬาทางประตูที่ติดกับถนนอังรีดูนัง ซึ่งถัดจากประตูสาธิตปทุมวัน พอผู้อ่านหันหน้าไปทาง MCS แล้วก็จะเห็น BRK อยู่ทางซ้ายครับ
8) そこが
อันนี้เป็นความผิดพลาดทางไวยากรณ์ครับ ถ้าเราบรรยายลักษณะของอะไรบางอย่างในประโยคก่อนหน้าแล้ว ต้องการจะบอกว่าสิ่งนั้นคืออะไรในประโยคที่ตามมา ก็ควรใช้ が มากกว่า は
ผมได้แก้ไขวิธีบอกทางเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้คำแนะนำครับ แต่มันยังไม่จบเท่านี้ เพราะตอนนี้ผมยังไม่ดูเฉลยเลย
มาดูกันเลยดีกว่า
BTSチョンノンシー駅からチュラーロンコーン大学文学部BRKビルまでの道のりを説明します。手段は、BTSシーロム線、徒歩です。
まず、BTSチョンノンシー駅は地下鉄の駅ではないため、階段やエスカレーターを昇ります。それから、販売機や窓口でサイアム駅の切符を買ってください。26バーツです。改札口を通ったら、シーロン線のNational Stadium(国立競技場)駅行きの電車に乗りましょう。チョンノンシー、サラデーン、ラチャダムリ、サイアム駅の順に停まるので、三つ目のサイアム駅で下車してください。サイアム駅に到着する前に、「Next
Station, Siam.」というアナウンサーの声が聞こえます。
次に、電車を降りたら、進行方向後ろ側の階段から2階下り、6番出口を確認しましょう。改札口を出ないで、「Exit⑥」という緑色の看板を探してください。それから、改札口を出て、6番出口の看板がある方を進みます。看板を通ったら、スカイウォークを歩くと、アンリデュナン(Henri Dunant)という通りがありますが、その道路を反対側に渡る前の階段を下りてください。前方に進み、階段を下りると、道路が左側に見えます。
続いて、アンリ・デュナン通りを左手に見ながら、真っ直ぐ進み、750メートルを歩いてください。(人がよく通っているので、走らない方がいいです。)チュラーロンコーン大学の入口に到着する前に、一つ目の歩道橋が見えます。(BTS近くのスカイウォークを除くと、その歩道橋は一つ目です。)その歩道橋のすぐ近くにSatit Patumwan学校の校門があります。歩道橋を通過して(渡らないで)、もう少し歩くと、次の入口が見えます。それは、チュラーロンコーン大学の入口です。その入口の前に立ったら、アンリ・デュナン通りを背にして、前方に進んでください。右側にある最初の白い外壁のビルは文学部のMCSビルで、1階に食堂と「True
Coffee」という喫茶店があります。MCSビルの左隣にもう一つの白い外壁のビルがあります。そこが文学部のBRKビルで、中央部に穴が開いたような形が見えます。そして、BRKビルに向かいましょう。
จะเห็นว่า ไฮไลท์สีชมพูคือจุดที่แก้แล้วเหมือนกับเฉลย และไฮไลต์สีฟ้าคือจุดที่ต่างกันครับ
1) เขียนอังกฤษก็ดีนะ
แม้จะเป็นการบอกทางแบบภาษาญี่ปุ่นก็ตาม แต่ส่วนที่เป็นชื่อเฉพาะนั้นควรเขียนภาษาอังกฤษกำกับไว้บ้างก็ดี เท่าที่เห็นมี 3 แบบ ได้แก่ 1. อังกฤษล้วน คือ Satit Patumwan 2. อังกฤษ+นิยามคือ National Stadium(国立競技場)3. คะตะงะนะ+อังกฤษ คือ アンリデュナン(Henri Dunant)
2) 電車を降りたら、進行方向後ろ側の階段から2階下り、6番出口...
ตรงนี้บอกทิศทางละเอียดดี แล้วก็บอกด้วยว่าลงบันได 2 ขั้น พอลงไปแล้วก็จะเจอเครื่องตรวจตั๋วพอดีเลยครับ
3) スカイウォークを歩くと、アンリデュナン(Henri Dunant)という通りがありますが、その道路を反対側に渡る前の階段を下りて...
ตรงนี้คือบอกชื่อถนนก่อนค่อยบอกทาง จึงทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้นครับ ผมชอบตรงที่ว่า その道路を反対側に渡る前の階段 ก็คือบอกอย่างชัดเจนเลยว่าบันไดตรงไหน ถ้าเขียนแบบนี้ไม่หลงแน่นอนครับ
เท่านี้ก็เขียนมายาวมากแล้ว สำหรับในครั้งนี้ก็จบเรื่องการอธิบายให้เห็นภาพแล้ว ขอบคุณที่ติดตามมาจนถึงตรงนี้นะครับ
สำหรับครั้งหน้าจะเป็นเรื่องอะไรกัน ก็มาดูได้นะครับ See You Again คร้าบโผมมมม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
10. บทสรุป
สวัสดีครับ ตอนที่ผมกำลังเขียนบล็อกอยู่นี้ก็ตอนตีหนึ่งกว่าๆ แล้ว อยากจะบอกไว้ในที่นี้ว่า บล็อกนี้เป็นบล็อกสุดท้ายแล้วนะครับ ผมจะมาสรุปเก...
-
วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง SLA ซึ่งย่อมาจาก Second Language Acquisition ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 第二言語習得 ในบทความที่ 1 เราอาจจะคุ้นเคยกั...
-
話し言葉と書き言葉 สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกคน ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกนะครับ วันนี้ผมจะมานำเสนอเรื่องภาษาพูดและภาษาเขียนครับ วันนี้จะเป็นบทค...
-
自己紹介から始まる。 สวัสดีครับ นี่เป็นครั้งแรกเลยที่ผมเริ่มเขียนบล็อก เพราะอะไรน่ะเหรอ ก็เพราะว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในวิชาภาษาศาสตร...